การเลี้ยงวัว


สำหรับวันนี้จะขอกล่าวถึงการเลี้ยงวัวเบื้องต้น สำหรับผู้ที่กำลังสนใจการทำการเกษตรด้วยการเลี้ยงวัว การเลี้ยงวัวนั้นไม่ยากแล้วก็ไม่ง่าย ทุกอย่างมันอยู่ที่ความตั้งใจมากกว่า จริงมั้ยครับ เอาละมาดูกันเลยดีกว่าว่าจะต้องเตรียมอะไรบ้างถ้าคุณอยากจะเลี้ยงวัวแบบคร่าวๆ ภาษาชาวบ้านเลยน่ะครับ

การเลือกพื้นที่เลี้ยงวัว

 1.พื้นที่ การเลี้ยงวัวต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยง วัวเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงให้เหมาะสม ถ้าหากเป็นชาวบ้านก็จะเลี้ยงปล่อยตามทุ่งนาทั่วไป ซึ่งต้องมีคนเฝ้าและดูแลวัวตลอดทั้งวัน แต่ถ้าหากเราจะเลี้ยงเป็นฟาร์มก็ต้องมีพื้นที่ ทั้งทำคอก ปลูกหญ้า ต่างๆ เพื่อใช้เลี้ยงวัวที่ท่านหามา

การเลือกพันธุ์วัว

2. พันธุ์วัว สิ่งต่อมาที่ท่านต้องเตรียมก็คือพันธุ์วัว เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร เลี้ยงเพื่อไปขายที่ไหน วัวมีด้วยกันหลายสายพันธุ์แบ่งเป็นง่ายๆก็ วันพันธุ์เนื้อและวัวนม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวัวพันธุ์เนื้อพื้นเมืองของไทยเราน่ะครับ

วัวพื้นเมือง
วัวพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับวัวพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.
ลูกวัวเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่วัวเนื้อ การเลี้ยงวัวเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกวัวให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่วัวสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกวัวมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของวัวระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
การเลี้ยงแม่วัวเนื้อที่จะให้ผู้เลี้ยงได้กำไรตอบแทนมากจะต้องเริ่มตั้งแต่การเลีอกพันธุ์วัวที่จะเลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบการเลี้ยงและวัตถุประสงค์ที่จะเลี้ยง เช่น ลูกวัวที่ผลิตได้จะสนองความต้องการของตลาดประเภทใด สำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มเลี้ยงวัว ปัญหาสำคัญคือจะเลี้ยงวัวพันธุ์อะไร ดังนั้น จะต้องทราบว่าวัวพันธุ์ต่างๆ มีคุณสมบัติอย่างไร เหมาะสมกับวิธีการเลี้ยงที่เราจะเลี้ยงหรือไม่ ควรซื้อวัวที่มีลักษณะอย่างไร

ข้อดีในการเลี้ยงวัว

1.เลี้ยงง่าย หากินเก่ง ไม่เลือกอาหารเพราะผ่านการคัดเลือกแบบธรรมชาติในการเลี้ยง แบบไล่ต้อนโดยเกษตรกร และสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเลี้ยงโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
2.ให้ลูกดก ส่วนใหญ่ให้ปีละตัว เพราะเกษตรกรคัดแม่วัวที่ไม่ให้ลูกออกอยู่เสมอ
3.ทนทานต่อโรคและแมลงและสภาพอากาศในบ้านเราได้ดี
4.ใช้แรงงานได้ดี
5.แม่วัวพื้นเมืองเหมาะที่จะนำมาผสมพันธุ์กับพ่อพันธุ์หรือผสมเทียมกับพันธุ์อื่น เช่น บราห์มัน วัวพันธุ์ตาก วัวกำแพงแสน หรือ วัวกบินทร์บุรี
6.มีเนื้อแน่น เหมาะกับการประกอบอาหารแบบไทย
7.สามารถใช้งานได้

ข้อเสียในการเลี้ยงวัว

1.เป็นวัวขนาดเล็ก เพราะถูกคัดเลือกมาในสภาพการเลี้ยงที่มีอาหารจำกัด
2.ไม่เหมาะที่จะนำมาเลี้ยงขุน เพราะมีขนาดเล็กไม่สามารถทำน้ำหนักซากได้ตามที่ตลาดวัวขุนต้องการ คือ ที่น้ำหนักมีชีวิต 450 ก.ก. และเนื้อไม่มีไขมันแทรก
3.เนื่องจากแม่วัวมีขนาดเล็กจึงไม่เหมาะสมที่จะผสมกับวัวพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ชาร์โลเล่ย์ และซิมเมนทัล เพราะอาจมีปัญหาการตลอดยาก

สำหรับการคัดเลือกวัวที่จะนำมาเลี้ยงนั้นก็ต้องมีข้อมูลที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมอีกเดี๋ยวเราจะนำมาฝากันในคราวหน้าน่ะครับ

3.อาหาร สิ่งที่ต้องเตรียมตามมาก็คืออาหารที่เราจะใช้เลี้ยงวัวของเรา สำหรับอาหารที่ใช้ในการเลี้ยงวัวนั้น มีด้วยกันตามนี้ครับได้แก่
อาหารหยาบ ซึ่งได้มากจาก หญ้าสด ฟางข้าว พืชตระกูลถัว ต้นข้าวโพด เป็นต้น
อาหารข้น ซึ่งได้มาจาก อาหารที่มีความเข้มข้นและมีโปรตีนสูง มีใยต่ำ สัตว์กินเข้าไปแลเวย่อยได้ง่าย เช่น รำ ปลายข้าว ข้าวโพดบด อาหารข้นสำเร็จรูปตามท้องตลาด หัวอาหารเป็นต้น

4. น้ำ การเลี้ยงวัวจะต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอให้วัวบริโภค สำหรับใครที่เลี้ยงเป็นจำนวนมากน่ะครับ แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรสำหรับน้ำให้วัวกิน

ก็คงจะตามนี้สำหรับการเลี้ยงวัวเบื้องต้น ในการเตรียมตัวขั้นแรกน่ะครับ แต่ว่าการเลี้ยงวัวนั้นจะต้องมีข้อมูลอื่นๆมาปรกอบอีกมากมาย ในแต่ละขั้นตอน รวมทั้งต้องหมั่นเอาใจใส่ในการเลี้ยงวัวของตนเองด้วย การทำการเกษตรด้วยการเลี้ยงวัวนั้นนับเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอย่างเช่นวัวพันธุ์เน้อนั้น แม่วัว 1 ปี ตกลูก 1 ครั้ง ถ้าเรามีแม่วัว 10 แม่ เราก็ได้วัวเพิ่มมาปีละ 10 ตัว แล้ว และความต้องการในการบริโภคนั้นก็มากขึ้นทุกวันตามจำนวนของประชากรโลกที่มากขึ้น ดังนั้นกาเลี้ยงวัวไม่ว่าจะเป็นวัวเนื้อ วัวนม นั้นย่อมน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันครับ

ประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์

มนุษย์ใช้สัตว์แบบทุกชนิดเป็นอาหาร มนุษย์สมัยโบราณล่าจับสัตว์มาเป็นอาหาร นับแต่สัตว์ที่ล่าหรือจับได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น งู แย้ ฯลฯ จนกระทั่งคิดเครื่องมือจับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่และล่าได้ยากขึ้น จนสามารถล่าและจับสัตว์มาเป็นอาหารได้มากขึ้น เมื่อเหลือจากการบริโภคก็กักขังสัตว์ไว้ใช้เป็นอาหารในวันต่อไป



ปัจจุบันเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์เป็นอาหารที่สำคัญของมนุษย์ได้แก่ เนื้อ นม ไข่ ซึ่งให้สารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายมนุษย์โดยเฉพาะโปรตีน ดังนั้นเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์จึงเป็นสิ่งจำเป็นของมนุษย์ตราบใดที่มนุษย์ยังบริโภคเนื้อสัตว์อยู่

ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงสัตว์ให้ประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงมากมายหลายประการ ผู้ที่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์สามารถสร้างฐานะจนร่ำรวยได้ เป็นอาชีพที่ได้ผลตอบแทนสูง หากมองในภาพรวมตั้งแต่ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ ชุมชน สังคม และประเทศชาติได้รับประโยชน์จากการเลี้ยงสัตว์ทั้งสิ้น ซึ่งพอสรุปประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ได้ 4 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้



1. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ
สัตว์เลี้ยงจำพวกโคกระบือ สุกร ไก่และเป็ด ล้วนมีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสินค้าจำหน่ายเพื่อการบริโภค เนื้อ นม ไข่ โดยตรงแล้ว ยังมีผลพลอยได้หลายชนิดทำเป็นเครื่องอุปโภคและเครื่องใช้ได้หลาย ๆ ประเภท สินค้าบางชนิด มีปริมาณมากจนกระทั่งสามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วย นับว่าผลผลิตจากสัตว์นี้ ช่วยลดการเสียดุลการค้าได้ประการหนึ่ง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545) ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ของประชากรไทยมีอาชีพทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ แม้ว่าจำนวนผู้ประกอบอาชีพเกษตรจะมีแนวโน้มลดลงอันเป็นผลมาจากทิศทางของระบบเศรษฐกิจไทยมุ่งไปสู่การประกอบการด้านอุตสาหกรรม การเลี้ยงสัตว์นับเป็นอาชีพที่สำคัญของเกษตรกรไทย

2. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ด้านเกษตรกรรม
การเลี้ยงสัตว์มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมด้านอื่น ๆ หลายด้าน ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์ทั้งสิ้น คือ

2.1 การใช้แรงงานจากสัตว์ ประเทศไทยมีเนื้อที่ในการทำนาในปัจจุบันประมาณ 75 ล้านไร่ ซึ่งถ้าหากใช้รถแทรกเตอร์ไถนาเป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำนาจะต้องใช้รถแทรกเตอร์ไถนาไม่ต่ำกว่า 2 แสนคัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะสภาวะทางเศรษฐกิจและระดับความรู้ทางเทคนิคของเกษตรกรไทยยังไม่อำนวย อีกทั้งราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการที่เกษตรกรจะใช้เครื่องทุนแรงให้แพร่หลายได้ ดังนั้น แรงงานที่ใช้ในการเกษตรกรรมส่วนใหญ่จึงมาจากการเลี้ยงโค กระบือนั่นเอง

2.2 การเลี้ยงสัตว์ช่วยเปลี่ยนแปลงผลผลิตในฟาร์ม ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถที่จะใช้ผลิตผลนั้นได้โดยตรง มาเป็นอาหารที่มีคุณค่าและมนุษย์ชอบ นอกจากนั้น สัตว์ยังเปลี่ยนผลผลิตที่เหลือจากมนุษย์กินมาเป็น เนื้อซึ่งได้ราคาสูงกว่าการขายผลิตผลนั้นโดยตรง จึงอาจกล่าวได้ว่า สัตว์เปรียบเสมือนตลาดรับซื้อพืชผลซึ่งมีราคาถูกแล้วเปลี่ยนเป็นเนื้อเพื่อให้ขายได้ราคาแพง หรือถ้าจะพูดอีกอย่างหนึ่งคือ การเลี้ยงสัตว์ช่วยทำให้ผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้มีราคาสูงขึ้น ย่อมเป็นผลทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ถ้าหากเอาผลิตผลเหล่านั้นเลี้ยงมนุษย์อย่างเดียว

2.3 การเลี้ยงสัตว์ช่วยลดต้นทุนการผลิตทางด้านเกษตรอื่นๆ เช่น การเลี้ยงปลาควบคู่กับการเลี้ยงสุกร โดยใช้มูลสุกรเป็นอาหารของปลา การใช้มูลไก่แห้งตั้งแต่ 10-40 เปอร์เซ็นต์ ของอาหารผสมเป็นอาหารของไก่ไข่และวัวเนื้อได้ ในภาคใต้ของประเทศไทยนิยมเลี้ยงวัวในสวนมะพร้าว เพื่อให้วัวกำจัดหญ้าในสวนมะพร้าว และให้มูลแก่มะพร้าว ทำให้มะพร้าวเจริญเติบโตและให้ผลดกขึ้น (สุวิทย์ เฑียรทอง, 2526)

2.4 สัตว์ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ทั้งนี้ เพราะมูลของสัตว์ประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นปุ๋ยแก่พืชสัตว์จะให้มูลซึ่งนับเป็นปุ๋ยคอก (manure) หรือปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizer) ที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง แม้ว่าจะเป็นปุ๋ยที่มีอัตราการสลายตัว (decompose rate) ช้า แต่ปุ๋ยคอกจะช่วยทำให้โครงสร้างของดินดี ขึ้น มูลสัตว์ต่างๆ มีไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปตัสเซียม (K) ดังนี้ มูลโครุ่นมีค่าเท่ากับ 1.7 , 1.6 และ 0.5 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ มูลสุกรมีค่าเท่ากับ 3.8 , 2.1 และ 1.3 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ มูลไก่มีค่าเท่ากับ 6.5 , 1.8 และ 1.8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ ส่วนมูลกระบือเชื่อว่ามีค่าใกล้เคียงกับมูลโค นักวิชาการจึงได้เน้นอยู่เสมอว่าเกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในพื้นที่เพาะปลูกพืชอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการเพิ่มผลผลิตพืชมากขึ้น ๆ สัตว์เลี้ยงพวกโค – กระบือ จะถ่ายมูลสดไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน การประมาณมูลสดที่ได้จากสัตว์ชนิดต่างๆ

2.5 การเลี้ยงสัตว์ช่วยกำจัดวัชพืชได้เป็นอย่างดี วัชพืชบางอย่าง เช่น หญ้าคา ผักตบชวา เป็นศัตรูที่ร้ายแรงต่อการปลูกพืชเป็นอย่างมาก ปีหนึ่ง ๆ เกษตรกรต้องเสียค่าใช้จ่าย ในการกำจัดวัชพืชเหล่านี้เป็นเงินหลายล้านบาท ถ้าหากเกษตรกรนำเอาวัชพืชเหล่านี้มาใช้เลี้ยงสัตว์ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ และเป็นการประหยัดค่าอาหารสัตว์ไปในตัวอีกด้วย ตัวอย่าง เช่น การนำเอาผักตบชวาตากแห้งมาเป็นส่วนผสมของอาหารสุกรได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทั้งหมด ทั้งนี้ เพราะผักตบชวาตากแห้งมีโปรตีนถึง 20.50 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 33.6เปอร์เซ็นต์ (สุวิทย์ เฑียรทอง, 2536)

3. ประโยชน์ของการเลี้ยงสัตว์ด้านสังคม

การเลี้ยงสัตว์ช่วยแก้ไขปัญหาสังคมหลายประการ ซึ่งล้วนแต่เกื้อกูลสังคมทำให้สังคมส่วนใหญ่ของประเทศเป็นปกติสุข ดังนี้

3.1 ลดปัญหาการว่างงานของประชาชน การที่ประชาชนในชาติไม่มีงานทำ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอย่างมากมาย เช่น ชาวชนบทมีการอพยพจากไร่นาสู่เมือง ปัญหาโจรผู้ร้ายชุกชุม เพราะความยากจน ปัญหาโสเภณี ปัญหาจากผู้ก่อการร้าย ปัญหาการเกิดแหล่งเสื่อมโทรมเนื่องจากการอพยพจากชนบทสู่เมือง เป็นต้น หากประชาชนได้ประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์ก็จะช่วยให้มีงานทำประจำปัญหาทางสังคมอันเกิดจากการว่างงานก็จะหมดไป (สุวิทย์ เฑียรทอง, 2536)

3.2 ผลิตผลจากสัตว์ช่วยบำรุงพลานามัยของประชาชนอันเป็นกำลังของชาติ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า เนื้อ นม ไข่ เป็นอาหารพิเศษสำหรับพลานามัยของมนุษย์ ทำให้ ผู้บริโภคมีร่างกายแข็งแรงเติบโต ปราศจากโรคภัย มีความคิดเฉลียวฉลาด มีความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานและภารกิจ ซึ่งผลท้ายสุดก็จะก่อให้เกิดความมั่นคงของประเทศชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่า คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่มีความสูงมากกว่าคนญี่ปุ่นรุ่นเก่า (ก่อนสงครามโลก) ถึง 4 นิ้ว เขาอ้างว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะคนญี่ปุ่นนิยมรับประทานอาหาร เนื้อ นม ไข่ กันมากขึ้น นม ไข่ นั้นมีวิตามินและสารอาหาร แร่ธาตุ บางอย่างที่หาไม่ได้หรือมีเพียงเล็กน้อยในอาหารประเภทอื่น ๆ นักโภชนาการได้วิเคราะห์จำนวนโปรตีนในไข่ เนื้อไก่และสุกร ไว้ดังนี้ ไข่ 12.7 เปอร์เซ็นต์ ไก่ 21.4 เปอร์เซ็นต์ และสุกร 15.7 เปอร์เซ็นต์

3.3 การเลี้ยงสัตว์เป็นการให้การศึกษาแก่สมาชิกในครอบครัว โดยทั่วไปแล้วการประกอบอาชีพการเกษตรมักจะกระทำสืบต่อไปยังลูกหลาน ดังนั้น ในการที่ให้ลูกหลานได้ช่วยปฏิบัติงานเลี้ยงสัตว์อย่างถูกต้อง จึงเป็นการให้การศึกษาแก่บุตรหลานผู้ซึ่งต่อไปจะต้องประกอบอาชีพการเกษตรอยู่แล้ว เป็นการวางรากฐานอาชีพการเกษตรให้แก่เขา ถ้ามีโอกาสทำการเกษตรในโอกาสต่อไปก็จะเป็นเกษตรกรที่ดี สามารถประสบผลสำเร็จได้

3.4 การเลี้ยงสัตว์เป็นการใช้แรงงานภายในครอบครัวให้เป็นประโยชน์ แรงงานจากเด็ก คนชรา หรือคนทุพพลภาพ สามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดี หากนำมาใช้ประโยชน์ในเรื่องนี้ก็จะเป็นการช่วยป้องกันการสูญเปล่าทางแรงงาน และช่วยให้บุคคลดังที่กล่าวมาแล้ว ได้มีความภาคภูมิใจในความสามารถของตน และเห็นว่าตนก็สามารถทำประโยชน์ให้แก่ครอบครัวได้เช่นกัน

3.5 การเลี้ยงสัตว์เป็นการฝึกนิสัยของผู้ประกอบการ ให้มีความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลาและรู้จักการประหยัด

3.6 การเลี้ยงสัตว์ช่วยสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ปฏิบัติ อันจะทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี คลายความเครียด

4. ประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของการเลี้ยงสัตว์
นอกจากประโยชน์ดังที่กล่าวมาแล้ว การเลี้ยงสัตว์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมายหลายประการซึ่งล้วนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรของประเทศทั้งสิ้น ทั้งในด้าน อุตสาหกรรม ด้านพลังงาน การแพทย์ และการกีฬา เป็นต้น

4.1 การเลี้ยงสัตว์ช่วยทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเครื่องหนังอุตสาหกรรมการทำปุ๋ยวิทยาศาสตร์จากกระดูกสัตว์

4.2 การผลิตพลังงานจากมูลสัตว์ เช่น การผลิตแก๊สชีวภาพ (bio – gas) ทำได้โดยหมักมูลสัตว์ให้เกิดแก๊สมีเทน ซึ่งการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์นี้กระทำแพร่หลายมากในประเทศอินเดีย ไต้หวัน สำหรับในประเทศไทยมีการผลิตแก๊สจากมูลสัตว์เพื่อใช้กับเครื่องสูบน้ำที่จังหวัดนครปฐม และผลิตแก๊สจากมูลสัตว์เพื่อใช้ในการหุงต้ม ที่ฟาร์มคีรีขันธ์ จังหวัดปทุมธานี

4.3 การทำวัคซีนป้องกันโรคของสัตว์และของคน โดยผลิตจากไข่และเลือดของสัตว์

4.4 การทำกาวจากหนังสัตว์ ทำยาฟอกหนัง เครื่องสำอางจากไข่

4.5 การเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้กันขโมย การฝึกสุนัขเพื่อใช้จับคนร้าย และใช้ในการสงคราม

4.6 การเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นเกมกีฬา เช่น การแข่งม้า แข่งสุนัข ขี่มาโปโล และการชนไก่ เป็นต้น


แหล่งที่มา www.วัว.com

10 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าวัวอพยพละครัช ให้ทําไงหรอ

    ตอบลบ
  2. ใช้ทุนเยอะ ผลตอบแทนช้า ต้องใจรักจริงๆ ถือเป็นการออมเงินแบบใช้แรงกายแรงใจ

    ตอบลบ
  3. ใช้ทุนเยอะ ผลตอบแทนช้า ต้องใจรักจริงๆ ถือเป็นการออมเงินแบบใช้แรงกายแรงใจ

    ตอบลบ
  4. ถ้าเราทำให้วัวมีความสุข รัก วัว ไม่ไปฆ่าเขา พระเจ้า พระกฤษณะ ก็จะ ทรงให้พรแด่พวกเราให้มีความสุข และ ความมั่งคั่ง ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นสิริมงคล แต่ถ้าเราไปฆ่าวัว เราก็จะต้องได้รับ ความทรมาน ผลกรรมชั่ว ที่เราทำให้แม่วัวได้รับความทรมาน คนฆ่า คนกิน คนสั่งฆ่า คนปรุงอาหาร ต้องได้รับผลบาป เท่ากันหมด

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณข้อมูลอย่างมากครับ

    ตอบลบ
  6. อ่านแล้วมีประโยชน์ได้ความรู้เิ่มขึ้นขอบคึณครับ

    ตอบลบ
  7. วัวเป็นโรคคันทำอย่างไรดี

    ตอบลบ
  8. สอบถามครับ น้ำบาดานเค็มให้วัวกินได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  9. ขอขอบคุณข้อมูลดีครับ
    อยากทราบปัญหาสวนมากที่พบกับ วัว เช่น โรค พฤติกรรมการแสดงออก แต่ละอย่าง ของวัว

    ตอบลบ